Monday, October 22, 2012

พม่าจะทำการกู้ระฆังโบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พม่าได้ตกลงจะกู้ระฆังโบราณอันล้ำค่าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งจมอยู่ใต้น้ำและเป็นปริศนาอยู่นานสี่ศตวรรษ

สำนักวิจัยทางประวัติศาสตร์ กระทรวงวัฒนธรรมประเทศพม่าและ SD Mark International LLP Co of Singapore จากประสิงคโปร์ จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2555 ที่ผ่านมา เพื่อรวบรวมคำแนะนำและวิธีการกู้ระฆังโบราณที่พระเจ้าธรรมเจดีย์ทรงถวายแด่ พระธาตุเจดีย์ตะเกิง (ชเวดากอง) เมื่อปี พ.ศ. 2019
shwedagon1
ภาพวาดโบราณ
นักวิจัยท้องถิ่งและต่างประเทศ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ได้นำเสนอเอกสาร 10 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับระฆัง เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ บันทึกเกี่ยวกับระฆัง ข้อมูลจากต่างประเทศ ในกระบวนการค้นหา รวมทั้งเทคโนโลยีการกู้วัตถุใต้น้ำ การเคลื่อนย้ายและการขนส่งระฆังด้วย

ผู้เข้าร่วมการสัมมนามีมติแผนการดำเนินการปฏิบัติ เทคนิคที่เหมาะสม ความต้องการเครื่องจักรที่ทันสมัย​​และอุปกรณ์สำหรับงานทุกอย่างที่ระบุ และจัดตั้งคณะทำงานชุดหนึ่ง ทางบริษัทจากประเทศสิงคโปร์ บริจาคค่าใช้จ่ายจำนวนเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการค้นหาและการกู้ การขนส่งระฆังกลับไปยังสถานที่เดิม บนลานพระเจดีย์ชเวดากอง

การทำงานค้นหาและกู้ระฆังครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อสภาพน้ำธรรมชาติและสภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล การดำเนินงานวิจัยจะทำในเขต ปานอะลัว บริเวณกลางน้ำที่แม่น้ำสามสายประสบพบกัน คือแม่น้ำย่างกุ้ง แม่น้ำพะโก และแม่น้ำงะโมเยิก
52708
การค้นหาจุดที่ระฆังจมอยู่ใต้น้ำ
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ ระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์ หล่อด้วยโลหะผสม ทองแดง, ทอง, เงินและดีบุก มีน้ำหนัก 290 ตัน โดยเปรียบเทียบกับระฆังในกรุงมอสโกที่มีน้ำหนัก 128 ตัน ระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์มีน้ำหนักมากกว่า และใหญ่ที่สุดในโลก

ระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์เป็นระฆังที่ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในโลกเท่าที่มีอยู่ มีหลายสิ่งหลายอย่างจะเปิดเผยออกมาจากลายลักษณ์อักษรที่สลักไว้รอบใบระฆัง
จากข้างบนถึงข้างล่าง
เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่มีประโยชน์และสามารถที่จะศึกษาศิลปะพม่าโบราณของการหล่อโลหะ
ผู้ว่าราชการอาณานิคมของเมืองซะเรียง (Filippe de Brito de Nicote) ชาวโปรตุเกส เอาระฆังจากลานพระเจดีย์ทางทิศอิสาน ในปี พ.ศ. 2155 เพื่อหล่อทำเป็นปืนใหญ่ใน แต่ว่าระฆังใหญ่ตกลงจากแพและ จมลงสู่ก้นแม่น้ำปานอะลัว ที่ปากคลองงะโมเยิก (Ngamoeyeik) ระฆังดังกล่าวยังคงอยู่ใต้โคลนนานสี่ศตวรรษและหลบซ่อนจากการสำรวจหาจุด ตำแหน่งที่แน่นอน เพื่อการกู้ขึ้นมาอีกครั้ง

ความพยายามหลายครั้ง เพื่อจะนำระฆังกลับไปยังสถานที่ตั้งเดิมก่อนหน้านี้ ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีซากเรือที่จมอยู่ในบริเวณนั้น การมองเห็นไม่ชัด และการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำในระยะเวลานาน 400 ปี และน้ำขึ้นน้ำลง

การกู้ระฆังหนัก 290 ตัน แท้จริงการพูดง่ายกว่าการลงมือกระทำ มันเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวงมีความยากลำบากมากหมายที่ซ่อนอยู่ เช่นปัญหาที่ซับซ้อน ความรอบรู้ เทคโนโลยี เงินค่าใช้จ่าย และทรัพยากรมนุษย์ จึงจะบรรลุความสำเร็จ

0 comments:

Post a Comment

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Best Web Host